Plant
Animal
---Select---
กรรณิการ์
กฤษณา
การเวก
กัลปพฤษ์
จันกระพ้อ
จำปา
นางแย้ม
บัว
บุญนาค
ปาริชาติ
พิกุล
มณฑา
ยี่สุ่น
ราตรี
ลำดวน
---Select---
กาสรสิงห์
กิเลน
กุญชรวารี
ครุฑ
ติณราชสีห์
โตเทพอัสดร
ทักทอ
เทพนรสิงห์
นกเทศ
นาค
นาคปักษี
นาคปักษิณ
บัณฑุราชสีห์
มัจฉาวาฬ
สกุณาไกรสร
สัมพาที
สิงหารมังกร
สินธพาที
หงษ์
เหมราช
เหรา
อสูรวิหก
อสูรปักษา
เมื่อเทียบดูระหว่างรูป "เหมราช" กับรูป "สกุณไกรสร" แล้ว จะเห็นว่า
เป็นสัตว์ประเภทเดียวกัน คือเป็นสัตว์ประสมระหว่าง นก กับ สิงห์ ต่างกันแต่ว่า
เป็นนกคนละชนิด
เหมราช เป็นนกประเภทปากหงส์ คือ ปากยาว ส่วนสกุณไกรสรเป็นนก
ประเภทปากสั้น ส่วนลำตัวนั้นก็เป็นแบบเดียวกัน คือ เป็นสัตว์ชนิดเท้ามีเล็บแบบสิงห์
จะผิดกันตรงที่หาง เหมราชมีหางเป็นแบบสิงห์ หรือราชสีห์ ปลายหางเป็นพวง ส่วน
สกุณไกรสร มีหางเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งถ้าว่ากันตามความหมายทางภาษา ไกรสร
ก็คือ สิงห์โต ซึ่งตามพจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า "สัตว์ในนิยายของจีน ถือว่ามี
ความดุร้ายและมีกำลังมาก"
คำว่า ไกรสร นั้นว่าแผลงมาจาก เกสรี หมายความว่า มีขนสร้อยคอ ส่วน
ราชสีห์นั้นหมายถึงพญาสิงห์โต เรียกสิงห์โตสามัญที่เขียนรูปอย่างแบบไทย สรุปว่า
ไกรสร สิงห์โต ราชสีห์ เป็นสัตว์ประเภทเดียวกัน แต่เมื่อเขียนให้เป็นไกรสรก็ทำ
หางให้เป็นอย่างหางสิงห์โตของจีน เมื่อเขียนเป็นราชสีห์ ก็ทำหางให้เป็นแบบ
ราชสีห์ไทย เรียกว่าผิดกันตรงหาง สกุณไกรสร จึงมีหางเป็นแบบหางสิงห์โต