พญานาค เป็นสัตว์น้ำตามนิยายที่มีฤทธิ์อำนาจมาก ตามตำนานกล่าวว่า พญานาคเป็นโอรสของพระกัศยปเทพบิดร และนางกัทรุ เป็นมารดา ตามนิยายอินเดีย เรื่องของนาคหรือพญานาค (คือสัตว์ที่มีตัวยาวเหมือนงู มีหงอน)เป็นคู่รักคู่แค้นกับพญาคุรฑ ซึ่งเป็นพี่น้องต่างมารดากัน เพราะการโกงพนันของนางกัทรุในการทายสีม้าของ พระอาทิตย์ ในข้อตกลงกันว่าหากใครทายผิด ฝ่ายที่ทายผิด ก็จะต้องเป็นทาส ของอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานข้างพระพุทธศาสนา มีเรื่องเกี่ยวกับพญานาคหลายเรื่อง เช่น มา กำบังฝนให้พระพุทธองค์ ซึ่งเราเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่า า พระปางนาคปรก เป็นต้น (เรื่องพิสดารของ พญานาค มีอธิบายไว้ในหนังสือ "อมนุษยนิยาย" โดย "ส.พลายน้อย") ในไตรภูมิพระร่วงแบ่งนาคไว้ ๑,๐๒๔ ชนิด หากแบ่งตามหน้าที่มี ๔ ชนิดคือ นาคสวรรค์ นาคกลางหาว นาคโลกบาล นาครักษาขุมทรัพย์ และแบ่งได้จากการเกิด ๔ ชนิดคือ นาคที่เกิดจากไข่ นาคที่เกิดในครรภ์ นาคที่เกิดจากเหงื่อไคล นาคที่เกิดโดยวิธีโอปาติกะ เป็นการเกิดขึ้นแล้วโตใหญ่ นาคจะใช้ฤทธิ์ในการเนรมิตรร่างกายให้เป็นคนไม่ได้ใน 4 โอกาสคือ ขณะปฏิสนธิต้องปรากฎรูปร่างเป็นพญานาค ขณะกำลังลอกคราบ ขณะเสพเมถุนกับนาค ขณะนอนหลับปราศจากสติ