Plant
Animal
---Select---
กรรณิการ์
กฤษณา
การเวก
กัลปพฤษ์
จันกระพ้อ
จำปา
นางแย้ม
บัว
บุญนาค
ปาริชาติ
พิกุล
มณฑา
ยี่สุ่น
ราตรี
ลำดวน
---Select---
กาสรสิงห์
กิเลน
กุญชรวารี
ครุฑ
ติณราชสีห์
โตเทพอัสดร
ทักทอ
เทพนรสิงห์
นกเทศ
นาค
นาคปักษี
นาคปักษิณ
บัณฑุราชสีห์
มัจฉาวาฬ
สกุณาไกรสร
สัมพาที
สิงหารมังกร
สินธพาที
หงษ์
เหมราช
เหรา
อสูรวิหก
อสูรปักษา
ครุฑ ตามความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึงพญานก แต่โบราณเขียนว่า ครุธ
เพราะอักขระวิธีเดิมของเราไม่ใช้ ฑ เป็นตัวสะกดแต่ลำพัง แม้ที่ใช้เป็นตัวสะกดควบ
เช่น วุฑฒิ วัฑฒนะ ก็มักตัดตัวกลางออกเหลือแต่ วุฒิ วัฒนะ ด้วยเหตุนั้นแต่เดิมจึง
เขียนเป็น ครุธ
ตามนิยายอินเดียกล่าวว่า พญาครุฑกับพญานาคเป็นพี่น้องกัน คือเป็นโอรสของ
พระกัศยปเทพบิดรและนางวินตาเป็นมารดา ส่วนมารดาของพญานาคคือนางกัทรุ
พูดง่าย ๆ ก็คือพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ พญาครุฑเป็นใหญ่ทางฝ่ายอากาศ พญานาค
เป็นใหญ่ทางน้ำ ตามปรกติพญาครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ เพราะครั้งหนึ่ง
พญาครุฑกับพระนารายณ์ได้ประลองฤทธิ์กัน เพราะว่าครุฑต้องการขโมยน้ำอมฤต
เพื่อไปไถ่ตัวนางวิตาผู้เป็นแม่ ให้พ้นจากการเป็นทาสของนางกัทรุ
สืบเนื่องมาจากการพนันสีม้าของพระอาทิตย์ว่าสีอะไร แต่นางกันทรุเป็นฝ่ายโกงโดยให้บริวาร
ไปพ่นพิษให้ม้าของพระอาทิตย์เป็นสีดำทำให้นางกันทรุเป็นฝ่ายชนะ โดยเสนอให้ครุฑ
ไปขโมยน้ำอมฤตมาไถ่ตัวนางวินตาเพื่อให้พ้นจากการเป็นทาส จึงเป็นเหตุให้พระนารยณ์
มาขัดขวางการขโมยน้ำอมฤต ทำให้เกิดการต่อสู้กันและไม่สามารถเอาชนะกันได้ จึงตกลง
กันว่า ถ้าเวลาเดินทางไปไหน ให้พญาครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์ แต่เวลา
อยู่กับที่ พญาครุฑนั่งสูงกว่าพระนารายณ์
ลักษณะของครุฑเป็นไปตามความคิดความเชื่อของแต่ละชาติ อินโดนีเซียคิดไป
อย่างหนึ่ง เนปาลคิดไปอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้นรูปร่างของครุฑจึงแตกต่างกันไป ท่าน
ที่ต้องการเปรียบเทียบลักษณะของครุฑจะหาอ่านได้จากหนังสือ "อมนุษย์นิยาย" โดย
"ส.พลายน้อย"
ตามคตินิยมของไทยได้ใช้รูปครุฑเป็นเครื่องหมายในผืนธง และเป็นพระ
ราชลัญจกรมาแต่โบราณกาล เพราะไทยได้รับอารยธรรมและความเชื่อมาจากพรามณ์
ที่เชื่อว่าครุฑเป็นผู้มีกำลังและอำนาจไม่มีผู้ใดจะเอาชนะได้แม้แต่พระนารายณ์
ในปัจจุบันใช้เป็นเครื่องหมายทางราชการ