Plant
Animal
---Select---
กรรณิการ์
กฤษณา
การเวก
กัลปพฤษ์
จันกระพ้อ
จำปา
นางแย้ม
บัว
บุญนาค
ปาริชาติ
พิกุล
มณฑา
ยี่สุ่น
ราตรี
ลำดวน
---Select---
กาสรสิงห์
กิเลน
กุญชรวารี
ครุฑ
ติณราชสีห์
โตเทพอัสดร
ทักทอ
เทพนรสิงห์
นกเทศ
นาค
นาคปักษี
นาคปักษิณ
บัณฑุราชสีห์
มัจฉาวาฬ
สกุณาไกรสร
สัมพาที
สิงหารมังกร
สินธพาที
หงษ์
เหมราช
เหรา
อสูรวิหก
อสูรปักษา
หมราช คำว่า เหมราช จะแปลหรือหมายความว่าอะไรไม่รู้ ตามรูปคำน่าจะมาจาก
"เหม" และ "ราช" ในพจนานุกรมให้ความหมายของคำ "เหม" ไว้ว่า "ทองคำ"
ช้างพวกหนึ่ง ในสิบตระกูลเรียกว่า เหมหัตถี, เรียกฝาหียหรือภาชนะบางอย่าง
ซึ่งยอดเขาแหลมปิดทอง, เรียกส่วนยอดประสาทถัดปล้องไฉนลงมา" ไม่มีคำว่า
เหมราช ถ้าจะให้เดาเล่น ๆ สัตว์ที่มีชื่อว่า "เหม" คงจะหมายถึงสัตว์ที่มีหน้าแหลม ๆ
ตามภาพเขียนก็เห็นทำเป็นแบบหน้าแหลม ๆ ปากยาวกว่าหงส์ บางท่านก็เขียนเครา
บางท่านก็ไม่เขียน บางทีจะหมายเอาที่มีเคราเป็นตัวผู้ ที่ไม่มีเคราเป็นตัวเมีย
กระมัง ในสมัยก่อนเคยได้ยินพูดกันว่า "ทำหน้าเป็นเหมทีเดียว" นึกไม่ออกว่าทำ
หน้าอย่างไร คงจะปากยื่นยาวกระมัง ในบทกวีโบราณมักกล่าวถึงคำว่า เหม
คู่กับ หงส์ อย่างเช่นขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนปลอบวันทอง
มีกลอนตอนหนึ่งว่า "ไปเป็นเพื่อนพี่บ้างในกลางดง ชม หงส์เหมเล่นให้เย็นใจ"
หรือในนิราศนรินทร์ มีโคลงอยู่บทหนึ่งว่า "วัดหงส์เหมราชร้าง รังถวาย"
ซึ่งในทางกวีหมายถึง พญาหงส์ทอง คำว่า เหมราช เมื่อเทียบกับคำ นาคราช
สีหราช หงสราช แล้วก็น่าจะ หมายเพียงว่า เป็นสัตว์ที่มีอำนาจราชศักดิ์เป็นพญาเหม
แต่ตามภาพเขียนของเหมราช เขียนท่อนตัวเป็นสิงห์ หัวเป็นหงส์ คำว่า
เหมราชจึงน่าจะเป็นเหมสีหราช หรือเหมราชสีห์มากกว่า